เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 9 พฤษภาคม 2565 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 353 คน
หัวหน้าโครงการ :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ญาณิศา โกมลศิริโชค คณะศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่นชุมชน เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ อย่างมีส่วนร่วม
ปี 2564 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้มีการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล) มีการจ้างงานคนในพื้นที่ตำบลแม่ป้ากรวม 20 คน มีการสำรวจฐานข้อมูลตำบลแม่ป้าก และการส่งเสริม ยกระดับ องค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นของชุมชน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีการการฝึกอบรมการย้อมสีผ้าจากวัสดุธรรมชาติ การพัฒนาผืนผ้าที่มีคุณสมบัตินุ่ม สวยงาม เหมาะแก่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ การจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน และการพัฒนาช่องทางการตลาด โครงการได้ทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้จากการให้บริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาวงการวิชาการและพัฒนาประเทศ
ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ มีแหล่งทรัพยากรชุมชนที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในตำบล ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำพุร้อน บ้านแม่จอก อ่างเก็บน้ำแม่ป้าก ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านโป่ง บ้านนาฮ่าง บ้านแช่ฟ้า และสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้ตำบล ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านค้างใจ บ้านแม่สิน และอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ตำบลแม่เกิ๋ง หรือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในลุ่มน้ำยม อำเภอวังชิ้น เป็นต้น คณะทำงานจึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาและยกระดับชุมชนด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก และเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเอง ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่ เกิดการสร้างอาชีพ และกระจายรายได้และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เสมอภาคจากระดับชุมชน ตามเป้าหมายการพัฒนาแผนบทของประเทศ
1.ที่มา/ความสำคัญ/เหตุผล
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น เศรษฐกิจฐานราก มีเป้าหมายเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก และเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเอง ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่ เกิดการสร้างอาชีพ และกระจายรายได้และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เสมอภาคจากระดับชุมชน โดยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น เศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วยแผนย่อย 2 แผน ได้แก่ 1) การยกระดับศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ โดยการเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจของเกษตรกร แรงงานทั่วไป และกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยและไม่มั่นคงให้เป็นผู้ประกอบการ ผ่านการสนับสนุนการช่วยเหลือทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะที่สำคัญและจำเป็นในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดการสร้างรายได้ได้ด้วยตนเอง รวมถึงการบริหารจัดการหนี้สิน ครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างยั่งยืน และการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มายกระดับห่วงโซ่อุปทานให้เป็นห่วงโซ่คุณค่าที่สามารถก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนได้อย่างเป็นธรรม 2)การสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เน้นส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปแบบที่มีโครงสร้างกระจายรายได้ ทั้งวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ และวิสาหกิจเพื่อสังคม การพัฒนาช่องทางการตลาดและเครือข่าย เพื่อให้เกิดการจัดการกลไกการตลาดครบวงจรในรูปแบบการค้าที่เป็นธรรม รวมถึงการมีกติกาให้เกิดโครงสร้างกระจายรายได้ให้กับเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น และการบริหารจัดการกลไกต่าง ๆ เพื่อให้เศรษฐกิจชุมชนมีทุนในการพัฒนาการสินค้าและยกระดับเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ
บ้านนาฮ่าง ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เป็นหนึ่งในชุมชนกะเหรี่ยงที่อยู่ในจังหวัดแพร่ มีจำนวน 84 หลังคาเรือน ประชากรรวม 385 คน ชาย 152 คน หญิง 175 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้ง 84 หลังคาเรือน และมีการทอผ้าเพื่อใช้และจำหน่ายจำนวน 18 ครัวเรือน โดยมีลักษณะการทอเป็นผ้าผืน ลายจก จัดทำเป็นเสื้อและย่ามเพื่อจำหน่าย โดยมีแหล่งจำหน่ายสำคัญคือบ้านของสมาชิกกลุ่มและบ่อน้ำพุร้อน บ้านแม่จอก ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เฉลี่ยรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เดือนละ 2,500 - 3,000 บาท
ปี 2564 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้มีการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล) มีการจ้างงานคนในพื้นที่ตำบลแม่ป้ากรวม 20 คน มีการสำรวจฐานข้อมูลตำบลแม่ป้าก และการส่งเสริม ยกระดับ องค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นของชุมชน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีการการฝึกอบรมการย้อมสีผ้าจากวัสดุธรรมชาติ การพัฒนาผืนผ้าที่มีคุณสมบัตินุ่ม สวยงาม เหมาะแก่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ การจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน และการพัฒนาช่องทางการตลาด โครงการได้ทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้จากการให้บริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาวงการวิชาการและพัฒนาประเทศ และได้มีการวิเคราะห์ชุมชนด้วยเครื่องมือ SWOT analysis ทำให้ทราบถึงแหล่งทรัพยากรชุมชนที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในตำบล ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำพุร้อน บ้านแม่จอก อ่างเก็บน้ำแม่ป้าก ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านโป่ง บ้านนาฮ่าง บ้านแช่ฟ้า และสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้ตำบล ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านค้างใจ บ้านแม่สิน และอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ตำบลแม่เกิ๋ง หรือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในลุ่มน้ำยม อำเภอวังชิ้น เป็นต้น คณะทำงานจึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาและยกระดับชุมชนด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก และเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเอง ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่ เกิดการสร้างอาชีพ และกระจายรายได้และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เสมอภาคจากระดับชุมชน ตามเป้าหมายการพัฒนาแผนบทของประเทศ
2.วิธีดำเนินการ
3.output
คลังรูปภาพ : RMUTCON2022_BCG(ท่องเที่ยวและบริการ)
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา