โลโก้เว็บไซต์ วันข้าวและชาวนา 2565 (ข้าวสาลี) | สถาบันวิจัยและพัฒนา

วันข้าวและชาวนา 2565 (ข้าวสาลี)

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 27 พฤษภาคม 2565 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 1180 คน

(1) ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

การพัฒนาศูนย์ธัญพืชเมืองหนาวของล้านนาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ภาคเหนือ

ผู้วิจัย ดร.สรุพล ใจวงศ์ษา และคณะ

ข้าวสาลีมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีปริมาณโปรตีนสูง และคาร์โบไฮเดรตในกลุ่มที่เรียกว่า Photosugar ซึ่งใช้เป็นอาหารเสริม นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของข้าวสาลี ซึ่งมีเส้นใยมากยังมีประโยชน์ต่อระบบย่อย แต่ในประเทศไทยยังมีการผลิตได้น้อย ดังนั้นข้าวสาลีจึงนับว่าเป็นพืชทางเลือกใหม่ที่มีศักยภาพในการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดีหากมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประกอบกับ ทางศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีพันธุกรรมของธัญพืชเก็บรักษาอยู่แต่ยังขาดการนำไปใช้ประโยชน์ ทางโครงการจึงต้องการพัฒนาการผลิตธัญพืชเมืองหนาวเป็นพืชหลังนาเพื่อเกษตรกรภาคเหนือตอนบนโดยเน้นข้าวสาลี ซึ่งแบ่งการดำเนินออกเป็น 5 กิจกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้


กิจกรรมที่ 1: การปะเมิน สายพันธุ์ ธัญพืชเมืองหนาว: ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 4  กิจกรรมได้แก่ (1) การเปรียบเทียบผลผลิต Bread Wheat ในแปลงเกษตรกร : ได้ทำการปลูกทดสอบ Lampang5, LARTC-W89011, FNBW8301-5-5, PMPBWS89248, PMPBWS89013, FNBW8310-1-SMG-1-1-1, CMU94-9, SMGBWS91029, SMGBW88003-7-1-1 2), Fang60, SMG2 และ Phrae60 ใน 4 พื้นที่

ได้แก่ 1) พื้นที่บ้านทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่

2) พื้นที่บ้านป่าบงเปียง จ.เชียงใหม่

3) พื้นที่บ้านใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน

4) พื้นที่บ้านน้ำจวง จ.พิษณุโลก

โดยมี planting date จำนวนทั้งสิ้น 2 ช่วง ได้แก่ 1) Early date (วันที่ 1 ธันวาคม 2562)

2) Mid December (วันที่ 15 ธันวาคม 2562)  จากการทดสอบพบว่าการปลูกข้าวสาลีทั้ง 2 ช่วงให้ผลผลิตที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 2 รุ่น ดังนี้ บ้านทุ่งหลวง รุ่นที่ 1 619.25 กก./ไร่ รุ่นที่ 2 554.60 กก./ไร่ บ้านป่าบงเปียง รุ่นที่ 1 844.25 กก./ไร่ รุ่นที่ 2 821.92 กก./ไร่ และ บ้านน้ำ จวง รุ่นที่ 1 68.46 กก./ไร่ รุ่นที่ 2 83.69 กก./ไร่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าโดยรวมบ้านป่าบงเปียงนั้นให้ผลผลิตสูงที่สุด (2) การเปรียบเทียบผลผลิต Bread Wheat ระหว่างสถานี : ซึ่งได้ทดสอบข้าวสาลีสายพันธุ์เดียวกับ

กิจกรรมย่อยที่ 1 และทดสอบในช่วงเวลาเดียวกัน ใน 3 พื้นที่สถานี ได้แก่ 1) ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง 2) ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ (ดงหลักหมื่น) และ 3) ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน จากการทดสอบพบว่าผลผลิตแตกต่างกันใน 2 รุ่นที่ทดสอบ และศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงนั้นให้ผลผลิตสูงสุด โดยมีผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 2 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 469.92 กก./ไร่ รุ่นที่ 2 534.42 กก./ไร่ (3) การคัดเลือกสายพันธุ์ Bread Wheat, Barley, Durum Wheat และ Triticale : 1)     ได้ทำการปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ Bread Wheat จำนวน 62 สายพันธุ มีผลผลิตอยู่ในช่วง 271 – 524 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 258.63 กก/ไร่         และได้คัดเลือกมา 9 พันธุ์เพื่อดำเนินการทดสอบต่อไป 2) ได้ทำการปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ Durum Wheat จำนวน 46 สายพันธุ์ ผลผลิตอยู่ในช่วง 142 – 346 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 236.83 กก./ไร่ ได้คัดเลือกมา 9 พันธุ์เพื่อดำเนินการทดสอบต่อไป 3) ได้ทำการปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ Barley ชนิด 6 แถว จำนวน 22 สายพันธุ์ ผลผลิตอยู่ในช่วง 271 – 463 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 338.59 กก./ไร่ ได้คัดเลือกมา 9 พันธุ์เพื่อดำเนินการทดสอบต่อไป 4) ได้ทำการปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ Barley ชนิด 2 แถว จำนวน 18 สายพันธุ์ ผลผลิตอยู่ในช่วง 90 – 225 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 140.39 กก./ไร่ ได้คัดเลือกมา 9 พันธุ์เพื่อดำเนินการทดสอบต่อไป และ 5) ได้ทำการปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ Triticale จำนวน 29 สายพันธุ์ ผลผลิตอยู่ในช่วง 271 – 463 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 338.59 กก./ไร่ ได้คัดเลือกมา 9 พันธุ์เพื่อดำเนินการทดสอบต่อไป และ (4) การจัดทำแปลงสาธิต Bread Wheat สายพันธุ์ดีเด่นในแปลงเกษตรกร : ได้ทำการจัดทำแปลงสาธิตทดสอบ  CMU88-8, MHSBWS12046, Lampang 2, Lampang 5 และ SMG2 จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ 1) บ้านบ่อแก้ว ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 2) บ้านแม่นาเติงนอก ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าพื้นที่บ้านแม่นาเติง นั้นไม่สามารถใช้เป็นแปลงสาธิตได้ เนื่องจากขาดแคลนน้ำในช่วงที่ทำการปลูก ส่วนการทดสอบที่พื้นที่บ้านบ่อแก้ว โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในกระบวนการผลิต พบว่าข้าวสาลีมีการเจริญเติบโตที่ดี และ ผลผลิตของข้าวสาลีค่อนข้างสูง และเป็นที่พอใจของเกษตรกรเจ้าของแปลงและเกษตรกรรอบข้าง โดยข้าวสาลีทั้ง 5 สายพันธุ์มี ผลผลิต อยู่ในช่วง 547.6 – 922.5 กก./ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 678.86 กก./ไร่


กิจกรรมที่ 2: การพัฒนาและขยายผล appropriated technology แบบ tailored made ที่เหมาะสม ต่อสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน :

มีกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม ได้แก่

(1) การทดสอบเทคโนโลยีการผลิต Bread Wheat : จากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลีของ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง และศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน สามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวสาลีจำนวน 6 สายพันธุ์ที่ทดสอบได้สูงกว่าวิธีการปลูกของเกษตรกรได้มากกว่า 44.40% และ 90.80% ณ บ้านทุ่งหลวง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่  และบ้านเวียงเหนือ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร และเทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถทำให้เกษตรมือใหม่ผู้หัดปลูกข้าวสาลีครั้งแรก ณ  บ้านป่าบงเปียง หมู่ที่ 13 ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สามารถผลิตข้าวสาลีได้สูงถึง 578 กิโลกรัม/ไร่  และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร และ

(2) การพัฒนาและขยายผลการปลูก Bread Wheat ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ : สายพันธุ์ข้าวสาลีที่ใช้ในการขยายผล คือ ฝาง 60 ซึ่งพื้นที่ปลูกทดสอบขยายเพิ่มเติม จำนวน 6 พื้นที่ ได้แก่ 1) พื้นที่บ้านปงเหนือ หมู่ 2 ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) พื้นที่บ้านตีนธาตุ หมู่ 5 ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) พื้นที่บ้านหนองเขียว ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ 379 (ร่าง) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ การพัฒนาศูนย์ธัญพืชเมืองหนาวของล้านนาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ภาคเหนือ 4) พื้นที่บ้านทุ่งยาว หมู่ 5 ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 5) พื้นที่บ้านป่าบงเปียง ต.ช่างเคิ่ง อ. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 6) พื้นที่บ้านแม่กลางหลวง ต.บ้านหลวง อ. จอมทอง จ.เชียงใหม่ นปงเหนือ บ้านตีนธาตุ บ้านหนองเขียว บ้านทุ่งยาว บ้านป่าบงเปียง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวสาลีสายพันธุ์ ฝาง 60 ส่วน ในพื้นที่ บ้านแม่กลางหลวง พบว่าไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เนื่องจากนกกัดกินผลผลิตเสียหาย 90% และประสบ ปัญหาฝนตกหนักต่อเนื่องในช่วงเก็บเกี่ยว


กิจกรรมที่ 3: การพัฒนาการแปรรูปเบื้องต้น และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธัญพืชเมืองหนาว :  ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม

ได้แก่ (1) ได้คัดเลือกเครื่องโม่ขนาดเล็กที่เหมาะสมต่อระดับวิสาหกิจชุมชน ได้แก่  เครื่องโม่รุ่น Komo Fidibus 21 ที่มีความสามารถในการโม่แป้งได้ดีที่หลายความละเอียด และกลุ่มเกษตรกร บ้านทุ่งหลวง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ได้เข้าร่วมอบรมการใช้เครื่องโม่ การผลิตแป้งแบบหยาบสำหรับการใช้ทำ Cereal bar หรือ Granular Bar ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และ การผลิตแป้งสำหรับทำขนมปังโฮลวีต หรือแป้งแบบละเอียดที่ใช้ทำเบเกอรี่และขนมเค้ก

(2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธัญพืชเมืองหนาวที่มีศักยภาพทางการตลาด : 1) ได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวสาลีที่เหมาะสำหรับการผลิตเป็นน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีจากสายพันธุ์ ข้าวสาลีจำนวน 371 สายพันธุ์ พบว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีสายพันธุ์ MHSBWS12010, FANG60 และ FNBW811-2-2-3 มีคุณภาพและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวสาลี ปริมาณคลอโรฟิลล์ ปริมาณวิตามินซีและค่าความหวานดีที่สุด จึงเหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นสายพันธุ์ ส่งเสริมเพื่อการผลิตเป็นน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ 2) ได้ทำการศึกษาการผลิตผง Wheat grass จากใบของต้นอ่อนข้าวสาลีพบว่าวิธีการที่เหมาะสมคือการ ทำให้เป็นผงโดยวิธีการทำ Freeze dry ซึ่งทำให้ได้ สี และรสชาติที่ใกล้เคียงกับน้ำคั้นสดมากที่สุด และ 3) ได้ทำการศึกษาการทำแบะแซจากรากต้นอ่อนข้าวสาลีซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากกระบวนการผลิต Wheat grass พบว่าสูตรที่ใช้รากข้าวสาลี:ข้าวเหนียวนึ่งสุกในอัตราส่วน 1:1 ใช้เวลาเคี่ยวนาน 60 นาทีมี คุณภาพไม่แตกต่างจากแบะแซที่จำหน่ายในท้องตลาด เพียงแต่มีสีที่เข้มกว่า และจากการทดลองให้ ผู้ประกอบการทดลองใช้แบะแซจากรากข้าวสาลี ในการผลิตไดฟูกุ ณ สหกรณ์ผู้ปลูกสับปะรด ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และการผลิตข้าวก่ำปั้น ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวแต๋นอำพัน บ้านทุ่งม่านเหนือ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทดลองมีไม่แตกต่างจากแบะแซที่ ผู้ประกอบการใช้ และ

(3) การผลิตหลอดดูด จากลำต้นของธัญพืชเมืองหนาว : ได้ทำการคัดเลือกพันธุ์ธัญพืชเมืองหนาวที่เหมาะสมในการผลิตเป็นหลอดดูดธรรมชาติและศึกษา วิธีการผลิตหลอดดูด การฆ่าเชื้อ และมาตรฐานการผลิตหลอดดูดให้ปลอดภัย และทดลองกระบวนการผลิต หลอดดูดจนถึงขั้นตอนจำหน่าย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับถารถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตหลอดดูดจากลำต้น ธัญพืชเมืองหนาวแก่ ชุมชน และผู้สนใจ 


กิจกรรมที่ 4: การผลิตเมล็ดพันธุ์ธัญพืชเมืองหนาวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ: โดยมีกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม ได้แก่

(1) ได้ดำเนินการขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีชนิดทำขนมปัง ชั้นพันธุ์คัด จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ CMU88-8, MHSBWS12046, Lampang2, SMG2 และ Phrae60 โดยเก็บรวงที่คงลักษณะ พันธุ์ตรงตามพันธุ์ของแต่ละพันธุ์จำนวน 2,000 รวง/พันธุ์ เพื่อใช้ปลูกรวงต่อแถวสำหรับเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลี ชั้นพันธุ์คัดในปี 2565 ได้ประมาณ 200 กิโลกรัมในแต่ละพันธุ์/สายพันธุ์ และ

(2) การผลิตเมล็ดพันธุ์ Barley สายพันธุ์ดีเด่น ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบาร์เลย์สายพันธุ์ดีเด่น จำนวน 8 สายพันธุ์/พันธุ์ ได้แก่ สะเมิง 1, สะเมิง 2, บรบ9, บรบ2, B-CMU96-9, B-CMU36-24, FNBL8306 และ FNBL#140 ในพื้นที่ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง ได้เมล็ดพันธุ์ 41, 32, 1, 4, 1, 1, 33 และ 60 กก. ตามลำดับ จำนวนเมล็ดพันธุ์รวมทั้งหมด 173 กิโลกรัม


กิจกรรมที่ 5: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro-tourism) ในช่วง Peak season ของ ภาคเหนือ :

ได้คัดเลือกพื้นที่ทำการ ได้แก่ บ้านป่าบงเปียง ต.ช่างเคิ่ง อ. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม และผู้นำของผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการพัฒนาที่พัก และแหล่งท่องเที่ยว คือ โดยนายสมบัติชัย จิตดากรรัตนกุล ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ บ้านระเบียงนา เข้าร่วมกิจกรรมนี้เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนิน กิจกรรม โดยการวางแผนปลูกข้าวสาลีเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงหลังการปลูกข้าว ตลอดจนการคัดเลือกพันธุ์ที่ เหมาะสมสำหรับพื้นที่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวสาลี ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิตแปรรูปเพื่อสร้างราย  การถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำ และเพิ่มทักษะการให้บริการการท่องเที่ยวให้กับชุมชน ได้แก่ การยกมาตรฐานของที่พักและอนามัยของที่พัก และการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน 


คลังรูปภาพ : ข้าวสาลี






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon