โลโก้เว็บไซต์ RMUTCON2022_BCG(สุขภาพและการแพทย์) | สถาบันวิจัยและพัฒนา

RMUTCON2022_BCG(สุขภาพและการแพทย์)

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 9 พฤษภาคม 2565 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 512 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

หัวหน้าโครงการ :

ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ภาคภูมิ จารุภูมิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


ชื่อโครงการ : การพัฒนา ปรับปรุง สอบเทียบและทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์เซรามิกชีวภาพที่มีไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นองค์ประกอบหลักในวัสดุทางการแพทย์เพื่อไปสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชีววัสดุสากล US FDA

ชื่อผลิตภัณฑ์: 1) ผลิตภัณฑ์ผงขัดฟันสุนัข 2) ผลิตภัณฑ์ยาสรฟันสุนัข

วัตถุดิบ: กระดูกวัว

กระบวนการผลิต: 1) นำกระดูกวัวมาทำความสะอาดด้วยการนำไปต้มในน้ำเพื่อให้เนื้อเยื่อที่ติดมากับกระดูกเกิดการย่อยสลาย เสร็จแล้วนำไปล้างน้ำสะอาดและนำไปแช่สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกภายในกระดูก แช่เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำไปตากให้แห้งและทุบให้มีขนาดเล็กลง จากนั้นนำไปแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 800 และ850 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง กระดูกวัวที่ผ่านการแคลไซน์จะนำไปผ่านการบด จนได้เป็น ไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Hydroxyapatite, HA) ที่มีความบริสุทธิ์สูง 2) นำสารไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ผ่านการสังเคราะห์จากกระดูกวัวและผ่านการเติมสารเซอร์โครเนียมและเติมซิลิกา จากนั้นนำมาขึ้นรูปและทำการเผาผนึกที่อุณหภูมิ 1200 1250 1300และ1350 องศาเซลเซียส 3) นำไปตรวจสอบสมบัติทางกายภาพคือ ค่าการหดตัวหลังการเผา ค่าความพรุนตัว และค่าความหนาแน่น เพื่อนำข้อมูลจากการตรวจสอบมาวิเคราะห์หาอุณหภูมิการเผาผนึกชิ้นงานเซรามิกชีวภาพ 4) จากนั้นนำไปเผาผนึกโดยเผาที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส หลังจากเผาเสร็จนำชิ้นงานไปทำการบดครกหยกให้ละเอียด และนำไปบดด้วยเครื่องลดขนาดอนุภาคโดยเทคนิคการสั่นสะเทือน

ผลการทดลองผงขัดฟันสำหรับสุนัข

จากการทดลองของสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว นำมาหาพื้นที่ของคราบจุลินทรีย์ ซึ่งจะได้ค่าพื้นที่ก่อนการขัด พื้นที่หลังการขัดและเปอร์เซ็นต์พื้นที่ของคราบจุลินทรีย์ที่ลดลงดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 ผลการทดลองขัดฟันสุนัข

ครั้งที่

ชนิดของผงขัดฟัน

พื้นที่ของคราบสีก่อนขัด (mm2)

พื้นที่ที่เหลือของคราบสีหลังขัด (mm2)

พื้นที่ของคราบสีที่ขัดออก (mm2)

ความสะอาด

(%)

1

ไฮดรอกซีอะพาไทต์

232

21

211

90.95

ผงขัดฟันของโรงพยาบาลสัตว์เล็ก

219

19

200

91.32

2

ไฮดรอกซีอะพาไทต์

405

34

371

91.61

ผงขัดฟันของโรงพยาบาลสัตว์เล็ก

352

24

328

93.18

 

หลังจากผลิตผงขัดฟันสำหรับสุนัขเสร็จแล้ว จากนั้นนำไปทดลองใช้งานโดยทางสัตวแพทย์ของโรงพยาบาลสัตว์เล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างผงขัดฟันไฮดรอกซีอะพาไทต์กับผงขัดฟันของโรงพยาบาลสัตว์เล็ก พบว่าสามารถลดคราบได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เหมือนกัน และเนื่องจากไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นวัสดุในกลุ่มแคลเซียมฟอสเฟสที่เป็นส่วนประกอบของฟัน ทำให้ยังสามารถช่วยอุดรูต่างๆบนผิวฟัน โดยไม่เป็นพิษต่อช่องปากของสุนัข

ผลการทดลองใช้ยาสีฟันสำหรับสุนัข

            ในหัวข้อนี้จะเป็นผลการทดลองใช้ยาสีฟันสำหรับสุนัข โดยในโครงการนี้จะเป็นการทดลองใช้โดยทางสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คือนายสัตวแพทย์ ดร.เกรียงไกร ทองก้อน และ สัตวแพทย์หญิง ทิวาพร ระดีรมย์ หลังจากทดลองใช้ยาสีฟันสำหรับสุนัขแล้ว โครงการนี้ได้ทำแบบประเมินให้กับทางผู้ทดลองใช้ได้ประเมินความพึงพอใจและได้ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสุนัขต่อไป จากนั้นทำการคำนวณระดับความพึงพอใจดังตารางต่อไปนี้

 

ตารางที่ 2 แสดงเปอร์เซ็นต์ความพึงพอใจหลังการใช้ยาสีฟันสุนัข

รายละเอียด

ระดับความพึงพอใจ

(เปอร์เซ็นต์)

ความพึงพอใจหลังการใช้ผลิตภัณฑ์

80-90

ความพึงพอใจต่อการบรรจุภัณฑ์

90-100

ความต้องการใช้ยาสีฟัน

90-100

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

90-100

 

จากตารางพบว่า ระดับความพึงพอใจหลังการใช้ผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ระดับความพึงพอใจต่อการบรรจุภัณฑ์อยู่ที่ 90 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ระดับความต้องการใช้ยาสีฟันเพิ่มอยู่ที่ 90 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการอยู่ที่ 90 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าหลังจากทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แล้วทางสัตวแพทย์มีความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง โดยทางสัตวแพทย์ที่ได้ทดลองใช้ยาสีฟันที่มีไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นองค์ประกอบหลักเปรียบเทียบกับที่มีวางจำหน่ายทั่วไป ทางสัตวแพทย์ได้ลงความเห็นว่า ยาสีฟันที่ผลิตได้นั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับยาสีฟันที่มีจำหน่ายทั่วไป โดยพบว่าสุนัขมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น กลิ่นปากลดลง อีกทั้งไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นวัสดุในกลุ่มแคลเซียมฟอสเฟสที่เป็นส่วนประกอบของฟัน ทำให้ยังสามารถช่วยไปอุดรูต่างๆบนผิวฟัน ลดอาการเสียวฟัน และไม่เป็นพิษต่อช่องปากของสุนัข และยังให้คำแนะนำว่าควรเพิ่มรสชาติเพื่อดึงดูดสุนัขให้ชอบแปรงฟันมากยิ่งขึ้น







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา