โลโก้เว็บไซต์ ตากโมเดล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ กล้วยหอมทอง 100 ล้าน  | สถาบันวิจัยและพัฒนา

ตากโมเดล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ กล้วยหอมทอง 100 ล้าน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 15 พฤศจิกายน 2560 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 5603 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2560  ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย รักษาราชการแทนอธิการบดี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา ร่วมประชุมการขับเคลื่อนงานเกษตรอุตสาหกรรมภาคเหนือ ณ อ.แม่สอด จ.ตากโดย นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตากและประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ 17 จังหวัด และผู้ทรงวุฒิ ผู้บริหาร คณาจารย์จากมทร.ล้านนนา ร่วมหารือในโอกาสที่ได้เดินทางตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนงานเกษตรอุตสาหกรรมภาคเหนือ ณ อ.แม่สอด จ.ตาก ว่า ตามที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีการดำเนินนโยบายที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ ประชารัฐ และเกษตรแปลงใหญ่ เป็นต้น ภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0 ตามแผนพัฒนาภาคการเกษตรภายใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งในการเดินทางมาครั้งนี้ยังได้เยี่ยมชมการดำเนินงานการเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบ “กล้วยหอมทอง 100 ล้าน จ.ตาก”  ตามโครงการส่งเสริมการเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบ “กล้วยหอมทอง” เกษตรปลอดภัย เกษตรอุตสาหกรรม เกษตรซื้อขายล่วงหน้า เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน  ภายใต้ความความร่วมมือของมทร.ล้านนา ตากและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ในโครงการ TAK Model

การดำเนินโครงการ TAK Model จังหวัดตาก โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก เป็นการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดด้านการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ทำให้เกิดกระบวนการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรเชิงอุตสาหกรรมที่ปลอดภัย ภายใต้แนวคิด "ขายได้แล้วจึงมีการผลิต มิใช่ผลิตแล้วจึงนำมาขาย" ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบที่เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมเกษตรกรในการผลิต "กล้วยหอมทอง" เป็นการยกระดับชีวิตของเกษตรกร โดยสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้การดำเนินงานในเรื่องเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของตลาด







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon