โลโก้เว็บไซต์ ร่วมลงพื้นที่ “การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างขีดความสามรถและโอกาสทางสังคม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ | สถาบันวิจัยและพัฒนา

ร่วมลงพื้นที่ “การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างขีดความสามรถและโอกาสทางสังคม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 7 มีนาคม 2567 โดย พลอยภิญญา สุภาพรเหมินทร์ จำนวนผู้เข้าชม 218 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2567 นายสุริยนต์ สูงคำ เจ้าหน้าที่วิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  ได้ร่วมลงพื้นที่กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ ผู้บริหารแผนงานวิจัย "การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างขีดความสามรถและโอกาสทางสังคม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์" ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กระบวนการดำเนินงานโครงการวิจัย ในพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สันติ ช่างเจรจา จาก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหัวหน้าโครงการ

การลงพื้นที่ของผู้บริหารแผนได้เข้าร่วมกิจกรรมตลาดอินทรีย์ ณ ที่ทำการ “วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์ตำบลวอแก้ว” อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นการจัดงานร่วมกันระหว่างภาคีระดับตำบล และระดับอำเภอ ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนได้นำเอาสินค้าทางด้านเกษตรมาจำหน่าย และมีกิจกรรมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน การแลกเปลี่ยนทำให้มองเห็นประเด็นการทำงานร่วมกันของสถาบันการศึกษาที่จะเข้าไปเสริมหนุนให้เกิดการขยายผลให้เกิดเป็น “ชุมชนยั่งยืน” ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

หลังจากนั้นได้เข้าสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนได้มีความรู้ในการปลูกผักในลังโฟม เนื่องจากใน “พื้นที่รองรับการอพยพราษฎร 4 หมู่บ้าน ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง” เป็นพื้นที่ๆชุมชนได้รับการจัดสรรให้ย้ายจากถิ่นอาศัยเดิม ทำให้มีข้อจำกัดด้านอาชีพและการยังชีพ ทีมวิจัยจึงได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ร่วมกับชุมชน และได้มีการนำเอาองค์ความรู้การปลูกผังในลังโฟมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และศักยภาพในการรับ ปรับใช้ เทคโนโลยีของชุมชนเอง

ก่อนที่จะเข้าเยี่ยมโรงเรือนของ “บริษัทนิคมอุตสาหกรรมเกษตร จำกัด” ซึ่งเกิดจากการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน โดยมีพันธมิตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่มีความพยายามในการที่จะทำให้พื้นที่อพยพเป็นแหล่งอุตสาหกรรมภาคการเกษตรครบวงจรที่สำสำคัญในภาคเหนือ ทีมวิจัยได้เข้าเรียนรู้โรงเรือนเกษตรแนวตั้งปลูกผักเพื่อส่งขายและรับคำสั่งซื้อจาก Distar Fresh โดยสามารถปลูกผักได้มากกว่า 1 ตันต่อเดือน

ทั้งนี้การร่วมสังเกตการณ์และประชุมสรุปร่วมกับทีมวิจัย ทำให้เห็นผลผลิตของการดำเนินงานโครงการวิจัยในพื้นที่และแนวทางการดำเนินงานที่เชื่อมกับภาคีเครือข่ายในอนาคต

 

ข้อมูล/ภาพ  #นายสุริยนต์ สูงคำ เจ้าหน้าที่วิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา #สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon