โลโก้เว็บไซต์ กิจกรรมรายงานผลงานวิจัย (บพท.) ระยะ 12 เดือน และแลกเปลี่ยนมุมมองกับกลไกภาคีเครือข่ายจังหวัดสุโขทัย “ตัวแบบกระบวนการพัฒนาธุรกิจภายใต้สภาวะการณ์วิกฤตด้านเศรษฐกิจ “กล้วยน้ำว้ารักษ์บ้านเกิด”  | สถาบันวิจัยและพัฒนา

กิจกรรมรายงานผลงานวิจัย (บพท.) ระยะ 12 เดือน และแลกเปลี่ยนมุมมองกับกลไกภาคีเครือข่ายจังหวัดสุโขทัย “ตัวแบบกระบวนการพัฒนาธุรกิจภายใต้สภาวะการณ์วิกฤตด้านเศรษฐกิจ “กล้วยน้ำว้ารักษ์บ้านเกิด”

เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 27 พฤษภาคม 2566 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 4088 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

“กิจกรรมรายงานผลงานวิจัย (บพท.) ระยะ 12 เดือน และแลกเปลี่ยนมุมมองกับกลไกภาคีเครือข่ายจังหวัดสุโขทัย”

ภายใต้แผนงานชุดโครงการวิจัย “ตัวแบบกระบวนการพัฒนาธุรกิจภายใต้สภาวะการณ์วิกฤตด้านเศรษฐกิจ “กล้วยน้ำว้ารักษ์บ้านเกิด” สินค้าเกษตรสำคัญของจังหวัดสุโขทัยด้วยนวัตกรรม”

สนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2565 

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ณ หอประชุม โรงเรียนบ้านไทยชนะศึก อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย โดย นายดำรง มโนรถ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานเปิดงาน “กิจกรรมรายงานผลงานวิจัย (บพท.) ระยะ 12 เดือน และแลกเปลี่ยนมุมมองกับกลไกภาคีเครือข่ายจังหวัดสุโขทัย” ภายใต้แผนงานชุดโครงการวิจัย “ตัวแบบกระบวนการพัฒนาธุรกิจภายใต้สภาวะการณ์วิกฤตด้านเศรษฐกิจ “กล้วยน้ำว้ารักษ์บ้านเกิด” สินค้าเกษตรสำคัญของจังหวัดสุโขทัยด้วยนวัตกรรม” สนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2565 

ดร.สุภาวดี แช่ม จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้าชุดแผนงานโครงการวิจัย กล่าวรายงาน ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรมในแผนงานฯ ภายใต้ 2 โครงการวิจัยย่อย (ต้น-กลางและปลายน้ำ) ในพื้นที่ทั้ง 9 อำเภอ รอบ 12 เดือน (เมษายน 2564 – มีนาคม 2565) และคณะนักวิจัย มทร.ล้านนา และภาคีเครือข่ายได้ร่วมมือจัดแสดงกระบวนการ ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่เหมาะสมภายใต้สร้างกลไก รับ ปรับ ขยายผลการเรียนรู้ยกระดับสมรรถนะ “นวัตกรชุมชน” ที่ใช้องค์ความรู้สร้างการพัฒนาตลอดห่วงโซ่มูลค่า เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วย บพท. และ สกสว.

กิจกรรมดังกล่าว เปิดโอกาสให้นวัตกรชุมชน/Knowledge Worker ร่วมจัดแสดงผลผลิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับรองผู้ว่าราชการฯ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วย บพท. หัวหน้าหน่วยงาน ผู้นำท้องถิ่น และผู้ประกอบการในห่วงโซ่ธุรกิจกล้วยน้ำว้าของจังหวัดสุโขทัย ร่วมจัดเวทีถอดบทเรียนแผนงานชุดโครงการวิจัยฯ ตลอดระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงกระบวนคิดขับเคลื่อนการดำเนินงานในกรอบเวลาที่ต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนงานชุดโครงการฯสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย สร้างตัวแบบ “กล้วยน้ำว้ารักษ์บ้านเกิด” ที่เกิดจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายพัฒนาธุรกิจฐานทุนอาชีพวิถีชุมชนอย่างต่อเนื่องยกระดับชุมชนแห่งการเรียนรู้บนค่านิยม “รักษ์บ้านเกิด” ให้ยั่งยืน สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาวะการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


ภาพ/ข่าว : นายสุริยนต์ สูงคำ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon